ชุมพรขับเคลื่อนนโยบายรัฐ มอบสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินกว่า 7 พันไร่ พร้อมส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต มีผู้ได้รับสิทธิ 1,110 ครอบครัว

วันพุธที่ 4 มกราคม 2566 นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ภายใต้คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัดชุมพร) ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมเกาะมัตตรา ชั้น 2 การประชุมมีประเด็นสำคัญสรุป ได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
2. พื้นที่เป้าหมายโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีจำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่
1) ปฏิรูปที่ดิน แปลง No83 (สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินหงษ์เจริญ จำกัด) อำเภอท่าแซะเนื้อที่จัดสรร 2,197–2– 57 ไร่ จำนวน 421 ราย จำนวน 421 แปลง
2) ที่สาธารณประโยชน์ นสล. เลขที่ 0694 ป่าควนหมี (สหกรณ์การเกษตรป่าควนหมีพัฒนา จำกัด) อำเภอสวี เนื้อที่จัดสรร 1171–2– 37 ไร่ จำนวน 144 ราย จำนวน 154 แปลง
3) ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกกะเปาะ อำเภอท่าแซะ, อำเภอปะทิว เนื้อที่จัดสรร 3,783 ไร่ จำนวน 456 ราย จำนวน 531 แปลง
4) ป่าชายเลน ชุมชนบ้านบ่อสำโรง อำเภอปะทิว เนื้อที่จัดสรร 8–3-34 ไร่ จำนวน 29 ราย จำนวน 1 แปลง
5) ป่าชายเลน ชุมชนบ้านควนเสาธง อำเภอทุ่งตะโก เนื้อที่จัดสรร 2–3- 85 ไร่ จำนวน 19 ราย จำนวน 1 แปลง
6) ป่าชายเลน บ้านบางหยี อำเภอหลังสวน เนื้อที่จัดสรร 2–0– 28 ไร่ จำนวน 10 ราย
จำนวน – แปลง
7) ป่าชายเลน บ้านอีเล็ต อำเภอเมืองชุมพร เนื้อที่จัดสรร 2-2-64 ไร่ จำนวน 10 ราย จำนวน – แปลง
8) ป่าชายเลน บ้านควนดิน อำเภอทุ่งตะโก เนื้อที่จัดสรร 3-1-80 ไร่ จำนวน 18 ราย จำนวน – แปลง

3. ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดตามกรอบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) 6 ด้าน ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของหน่วยงานคณะทำงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด
4. การจัดส่งรายงาน/ข้อมูลสมาชิกหรือเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
5. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการส่งเสริมแผนการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาดตามกรอบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) 6 ด้าน ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 หน่วยงานคณะทำงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด

6. พิจารณาเห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการสำรวจเกษตรกรในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่
1) ป่ารับร่อและป่าสลุย จำนวน 1,406 แปลง 961 ราย เนื้อที่ 7,026 ไร่ 1 งาน 99 ตารางวา
2) พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าละแม อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอละแม จำนวน 1,271 แปลง 1,036 ราย เนื้อที่ประมาณ 10,889 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา

ในการนี้ ประธานและที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกัน เสนอให้มีการดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
– ควรจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมอาชีพและการตลาด ระยะปานกลาง 3-5 ปี เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ป้องกันปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน บูรณาการแผนงาน โครงการทุกภาคส่วน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
– เห็นชอบแผนปฏิบัติงาน ในปี 2566 แต่ขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่เป็นคณะทำงานชุดนี้ กลับไปทบทวน และพิจารณาส่งโครงการ หรือกิจกรรมที่สามารถจะทำได้มาบูรณาการเพิ่มเติม เพราะบางพื้นที่เป้าหมายไม่มีโครงการ หรือกิจกรรมปรากฎอยู่ในแผนเลย.

