รัฐบาลเงาพม่าตั้งค่ายติดชายแดนไทยปฏิบัติการจากแม่ฮ่องสอนถึงชุมพร-ระนอง
สำนักข่าวเว็บไซดื MGR Online ได้รายงานสถานการณ์การสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงที่ไม่สงบง่ายๆ ล่าสุด นายกรัฐมนตรี NUG เพิ่งเดินทางมาทำพิธีมอบอาวุธปืนแก่กำลังพล PDF “กองพันดอนะ” ซึ่งเพิ่งจบการฝึกที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในรัฐกะเหรี่ยง เผยเป็นหน่วยรบที่ขึ้นตรงกับกองทัพ PDF ภาค 3 รับผิดชอบพื้นที่ตลอดแนวชายแดนที่ติดกับไทย ตั้งแต่แม่ฮ่องสอน ลงไปจนถึงระนอง
วันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา เพจกระทรวงกลาโหม รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) รัฐบาลเงาของพม่าที่ตั้งขึ้นโดยสมาชิกพรรค NLD ได้เผยแพร่ภาพพิธีปิดการฝึกใช้อาวุธของทหารในหน่วยรบที่ใช้ชื่อว่า “กองพันดอนะ” (Dawna Column) ภายในค่ายฝึกกำลังพลติดอาวุธของฝ่ายต่อต้าน (PDF) แห่งหนึ่ง บนเทือกเขาดอนะ ในรัฐกะเหรี่ยง
ในพิธี มีผู้นำและรัฐมนตรีของ NUG หลายรายเข้าร่วม เช่น มานวินข่ายตาน นายกรัฐมนตรี NUG ซึ่งได้ขึ้นกล่าวให้โอวาท และเป็นผู้ทำพิธีมอบอาวุธปืนให้แก่กำลังพล นอกจากนี้ ยังมี อิ๊ ตินส่า หม่อง รองรัฐมนตรีกระทรวงกิจการสตรี เยาวชน และเด็ก รวมถึงผู้บัญชาการกองกำลังภาคที่ 3 และผู้นำหน่วยทหารของ PDF มาร่วมด้วย
“กองพันดอนะ” เป็นหน่วยรบที่ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการ กองกำลังภาคที่ 3 ของ PDF ซึ่งรับผิดชอบการเคลื่อนไหวสู่รบกับกองทัพพม่าในพื้นที่ภาคใต้ของพม่า ตั้งแต่รัฐกะเหรี่ยงลงไปถึงถึงภาคตะนาวศรี ที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยยาวต่อเนื่อง ตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง
แม้พื้นที่เคลื่อนไหวของกองกำลังภาคที่ 3 PDF จะทับซ้อนกับพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) แต่ทั้ง 2 กองทัพทัพไม่ได้ขึ้นต่อกัน และมีการสนธิกำลังปฏิบัติการร่วมกันบ้าง โดยเฉพาะการสู้รบรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้นหลายพื้นที่ของรัฐกะเหรี่ยง ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2565 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
“ดอนะ” เป็นชื่อในภาษาพม่าที่ใช้เรียกทิวเขาถนนธงชัยตะวันตก ซึ่งเป็นแนวพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่า ตั้งแต่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงมาถึงอำเภอพบพระ จังหวัดตากตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2565 พื้นที่สู้รบหนักในรัฐกะเหรี่ยงเกิดขึ้นตามแนวทางหลวงสายเอเชีย (AH1) จากเมืองเมียวดี ตรงข้ามอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ไปยังเมืองกอกะเร็ก ซึ่งเป็นถนนเศรษฐกิจสายสำคัญ เพราะเป็นเส้นทางหลักที่ใช้ขนส่งสินค้าซึ่งซื้อขายกันระหว่างไทยกับพม้า โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่ชาวพม้าจำเป็นต้องใช้ ต่างต้องนำเข้าไปจากไทยทางถนนสายนี้
พื้นที่สู้รบรุนแรงอยู่บนนถนนช่วงข้ามเทือกเขาดอนะ ก่อนลงไปเมืองกอกะเร็ก มีการวางระเบิดถนนและสะพานหลายจุด กระทั่งวันที่ 22 ธันวาคม 2565 เส้นทางช่วงนี้ได้ถูกปิดลงอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่มีใครกล้าขับรถผ่าน ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นในพม่า เพราะไม่สามารถขนส่งข้ามเทือกเขาดอนะเข้าไปได้
ต่อมา แนวรบบริเวณนี้เริ่มเบาบางลง รถบรรทุกสินค้าเริ่มกลับมาวิ่งตามทางหลวงสายเอเชีย ข้ามเทือกเขาดอนะได้อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2566 และมีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 1 อนุญาตให้ประชาชนของแม่สอด และเมียวดี สามารถข้ามไปมาหาสู่กันได้เมื่อวันที่ 12 มกราคม
อย่างไรก็ตาม แนวรบรุนแรงระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังผสม PDF-KNLA ได้ขยับลงมาทางใต้ โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบอำเภอพยาโตงซู เมืองชายแดนของรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงข้ามตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีของไทย
นอกจากนั้น MGR Onlin รานงานว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา สำนักงาน KNU ในจังหวัดดูบลายา ได้ออกประกาศห้ามประชาชนเดินทางไปบนถนนจากเมืองจาอินเซะจี มายังอำเภอพยาโตงซู โดยให้เหตุผลว่าตลอดเส้นทางสายนี้เป็นพื้นที่อันตราย เพราะกำลังมีการสู้รบกันอย่างหนักของทหารพม่ากับกองกำลังผสม PDF-KNLA
สำหรับจังหวัดชุมพร ทีมข่าว Stringer News รายงานว่า มีชายแดนไทย-เมียนมาอยู่ติดกับอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร ยาวประมาณกว่า 70 เมตร จากอำเภอบางสะพานน้อยจรดอำเภอกระบุรี จ.ระนอง ปัจจุบันมีฐานปฏิบัติการทหารเมียนมา ชื่อฐานปฏิบัติการยัวเฮลู ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอปกเปี้ยน จ.เกาะสอง ประเทศเมียนมา ประมาณ 100 กิโลเมตร
ในอดีตบริเวณยอดเนิน 491 เขตชายแดนไทย-เมียนมา พื้นที่ตำบลรับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เคยเป็นฐานที่มั่นส่วนหน้าของกองกำลังกะเหรี่ยง KNU ใช้เป็นฐานปฏิบัติการ ต่อมาในปี พ.ศ.2535 กองกำลังทหารเมียนมา ได้ทุ่มกองกำลังเข้ามากวาดล้างชนกลุ่มน้อยทำให้เกิดการสู้รบขึ้น จนเป็นเหตุให้กองกำลังทหารกระเหรี่ยงแตกพ่ายถอยร่อนไปตามแนวตะเข็บด้าน จ.ประวบคีรีขันธ์ ส่วนกองกำลังทหารเมียนมาได้เข้ายึดและตั้งฐานอยู่บนยอดเนิน 491 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตแดน ทำให้ทางการประเทศไทยต้องแจ้งเตือนกับทางการประเทศเมียนมา ให้ถอนกองกำลังทหารออกไป พรและได้ส่งกำลังทหารเข้าประชิดชายแดนเพื่อกดดันพร้อมกับการเจรจา จนทางการเมียนมาได้สั่งถอนกองกำลังทหารเมียนมากลับออกไปจากจุดแบ่งเขตแดนบนยอดเนิน 491 ดังกล่าว
การสู้รบในครังนั้นระหว่างกองกำลังทหารเมียนมากับกองกำลังทหารกระเหรี่ยง KNU บริเวณยอดเนิน 491 ได้มีกระสุนปืนใหญ่และกระสุนปืนคอของฝ่ายทหารเมียนมา ยิงมาตกบริเวณฝั่นประเทศไทย จำนวนหลายลูก ทำให้มีราษฎรที่อาศัยทำการเกษตรอยู่ใกล้พื้นที่ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนจำนวนหนึ่ง