กล้วยหอมทองถ้ำสิงห์
เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง ต่างประเทศ

กล้วยหอมทองถ้ำสิงห์ส่งญี่ปุ่น

ชุมพร กล้วยหอมทองถ้ำสิงห์ ผลิตไม่ทันส่งออกขายญี่ปุ่นสัปดาห์ละเกือบ 10 ตัน เกษตรจังหวัดส่งเสริมเพาะหน่อเนื้อเยื่อพันธุ์ดีเพิ่มผลผลิต

นายสุบรรณ์ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่าได้มอบหมายให้ นางสาวฉัตติญา พรหมปองสุข หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต  นางพัฒนา นนทแก้ว เกษตรอำเภอเมืองชุมพร พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มฯ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองชุมพร ร่วมกับ นางพรทิพย์ สมวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมคุณภาพและโรงงาน กองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ลงพื้นที่แปลงใหญ่กล้วยหอมทอง ตำบลถ้ำสิงห์ อ.เมือง จ.ชุมพร เพื่อวางแผนวางแผนการดำเนินงานผลิตกล้วยหอมทองพันธุ์ดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับสนับสนุนให้เกษตรกรสมาชิกกลุ่ม โดยผู้แทนกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยหอมทอง ร่วมให้ข้อมูลการดำเนินงานกลุ่มในปัจจุบันและแผนการดำเนินงานในอนาคต

 

“ปัจจุบันกลุ่มมีการผลิตกล้วยหอมทองเพื่อคัดบรรจุส่งออกญี่ปุ่นประมาณ 80 เปอร์เซ็น ของผลผลิตทั้งหมด ปริมาณ 500 กล่องต่อสัปดาห์ ปริมาณ 6.25 ตัน และปี 2568 เพิ่มการผลิตเป็น 1,000 กล่องต่อสัปดาห์ ปริมาณ 12.5 ตัน และอีก 20 เปอร์เซ็น จำหน่ายภายในประเทศ และในเดือนเมษายน 2567 กลุ่มมีการรวบรวมกล้วยไข่ส่งให้แก่ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด โดย MOU ขั้นต่ำ สัปห์ดาละ 1 ตัน”

“ดังนั้นกลุ่มจึงมีการส่งเสริมเพิ่มพื้นที่ปลูกทั้งสมาชิกลุ่มปัจจุบันและเปิดรับสมาชิกกลุ่มเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการและเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรประมาณ 36,000 บาท/ไร่/ปี (400 หน่อ/1ไร่)”

นายสุบรรณ์กล่าวว่า ทั้งนี้สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ส่งเสริมให้กลุ่มมีการใช้หน่อกล้วยพันธุ์ดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการประสานกองขยายพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีภารกิจงานด้านการผลิตพันธุ์พืชพันธุ์ดี เพื่อสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตร และมีการดำเนินงานผลิตพันธุ์พืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการผลิตพืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีข้อดี คือ สามารถผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรคปริมาณมากในระยะเวลาที่สั้น และต้นพันธุ์ที่ได้มีลักษณะตรงตามพันธุ์เหมือนต้นแม่ 

“ซึ่งกองขายพันธุ์พืชมีการดำเนินการผลิตกล้วยหอมทองพันธุ์ดีสำหรับสนับสนุนแก่เกษตรกรตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร และเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีพืชพันธุ์ดี ปลอดโรค มีลักษณะตามพันธุ์ และตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่”เกษตรจังหวัดชุมพร