กางสแลมป้องกันประการังฟอกขาว
ทั่วไป ร้องเรียน อาชญากรรม เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม

กางสแลมป้องกันประการังฟอกขาว

ชุมพร กางสแลนทำหลังคาลดความร้อนป้องกันประการังฟอกขาว พบมี 80 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ 20 ไร่ ระดับน้ำทะเลความลึก 8-9 เมตร 

ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลชุมพร ร่วมกับเจ้าหน้าที่และกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เดินหน้ากางสแลนทำหลังคาลดความร้อนป้องกันประการังฟอกขาว พบมี 80 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ 20 ไร่ ระดับความลึก 8-9 เมตร

นายมรกต โจวรรณถะ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดชุมพร ได้เปิดเผยการสำรวจและการใช้สแลนป้องกันประการังฟอกขาว โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่และกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการสำรวจติดตามปะการังฟอกขาว ดังรายละเอียดข้อมูล ดังนี้ (1.) พื้นที่ดำเนินการ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร (2.)วันที่สำรวจล่าสุดเมื่อวันอังคาร ที่ 7 พฤษภาคม 2567 (3.)บริเวณพื้นที่ดำเนินการเกาะง่ามน้อย (4.)อุณหภูมิของน้ำทะเล พบมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วง 32 องศาเซลเซียส  (5.)ในระดับความลึก 8-9 เมตร (6.)ร้อยละของการฟอกขาว พื้นที่แนวปะการัง จำนวน 20 ไร่ พบว่าปะการังมีการแสดงอาการการฟอกขาว 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ 

โดยมีลักษณะสีซีดจางและฟอกขาวบางส่วนประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ที่ฟอกขาวทั้งโคโลนีของบริเวณพื้นที่เกาะง่ามน้อย โดยในการดำเนินการประเมินในกลุ่มของปะการังที่พบที่มีการแสดงอาการ ได้แก่ ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังดอกเห็ด (Fungia spp.) ปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora spp.)

จากนั้นได้ดำเนินการปฏิบัติงานการทดลองใช้อุปกรณ์สแลนลดแสง “Shading” บริเวณหมู่เกาะชุมพร (เกาะง่ามน้อย) โดยการดำเนินการดังกล่าว ได้ดำเนินการมาแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562

โดยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดชุมพร ยังคงต้องมีการดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป.