ชุมพรประกาศพื้นที่ปลาหมอคางดำแพร่ระบาด
ข่าวเด่น เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม

ประกาศพื้นที่ปลาหมอคางดำระบาด

ชุมพรประกาศพื้นที่ปลาหมอคางดำแพร่ระบาด 6 อำเภอ ห้ามครอบครอง เคลื่อนย้าย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศพื้นที่แพร่ระบาดปลาหมอคางดำ 19 จังหวัด 76 อำเภอ เว็บไซต์ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศชนิดสัตว์น้ำห้ามครอบครอง “ปลาหมอคางดำ”พร้อมกำหนดเขตพื้นที่ระบาด 19 จังหวัด เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ.2567 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ จึงสมควรกำหนดชนิดสัตว์น้ำบางชนิดที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ห้ามมิให้บุคคลใด มีไว้ในครอบครองปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) มีชีวิตและที่ไม่มีชีวิต นอกพื้นที่การแพร่ระบาดตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ 2 ความในข้อ 1 มิให้ใช้บังคับกรณี ดังต่อไปนี้

(1) กรณีมีการครอบครองโดยการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

  (1.1) การเคลื่อนย้ายในลักษณะที่มีการแช่เย็นด้วยน้ำแข็ง ซึ่งมีภาชนะบรรจุมิดชิด

  (1.2) การเคลื่อนย้ายในลักษณะที่มีการแช่แข็ง

  (1.3) การเคลื่อนย้ายในลักษณะที่มีการแปรรูปเบื้องต้นแล้ว เช่น การตัดหัว ควักไส้ แล่เป็นชิ้น หมักเกลือ เป็นต้น

  (2) กรณีการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางตำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิตเพื่อนำไปแปแปรรูป เป็นปลาปัน ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้ง และอยู่ในภาชนะบรรจุมิดชิด

  (3) กรณีการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิต เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบตามโครงการของรัฐ เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ต้องเคลื่อนย้ายแบบแห้ง และอยู่ในภาชนะบรรจุมิดชิด

  (4) กรณีการเคลื่อนย้ายปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำที่ไม่มีชีวิตที่กระทำโดยทางราชการเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและกำจัดออกจากที่จับสัตว์น้ำ

 ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ลงชื่อ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ส่วนประกาศฉบับที่สองเป็น ประกาศกรมประมงเรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การแพร่ระบาดปลาหมอคางดำมีบัญชีแนบท้ายประกาศ ใน 19 จังหวัด 76 อำเภอ โดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 1 ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามมีไว้ในครอบครอง พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2567 กรมประมงจึงประกาศให้บริเวณพื้นที่ตามแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำหรือปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron)ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

 โดยพื้นที่แพร่ระบาด ประกอบด้วย 1.จันทบุรี 2.ระยอง 3.ฉะเชิงเทรา 4.สมุทรปราการ 5.นนทบุรี 6.กรุงเทพมหานคร 7.นครปฐม 8.ราชบุรี 9.สมุทรสาคร 10.สมุทรสงคราม 11.เพชรบุรี 12.ประจวบคีรีขันธ์ 13.ชุมพร 14.สุราษฎร์ธานี 15.นครศรีธรรมราช 16.สงขลา 17.ชลบุรี 18.พัทลุง และ 19.ปราจีนบุรี

สำหรับพื้นที่ตามประกาศพื้นที่การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำทั้ง 19 จังหวัด รวมพื้นที่ 76 อำเภอ ทั้งหมดอยู่ติดกับทะเลอ่าวไทย ในส่วนของ จ.ชุมพร มีพื้นที่แพร่ระบาด 6 อำเภอ ที่ติดกับทะเลอ่าวไทย คือ 1.อำเภอปะทิว 2.อำเภอเมืองชุมพร 3.อำเภอสวี 4.อำเภอทุ่งตะโก 5.อำเภอหลังสวน 6.ละแม.

โตโยต้าชุมพร(กดดูข้อมูล)https://www.facebook.com/toyotachumphon/?mibextid=ZbWKwL


ฮอนด้าชุมพร(กดดูข้อมูล)https://www.facebook.com/hondachumphon?mibextid=ZbWKwL