จังหวัดชุมพรอยู่ติดทะเลอ่าวไทยด้านทิศตะวันตก มีชายหาดยาว 222 กิโลเมตร มีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ครอบคลุมพื้นที่ใน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองชุมพร อ.ปะทิว อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.หลังสวน รวมพื้นที่ทางทะเลจำนวน 324.42 ตารางกิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร มีหมู่เกาะน้อยใหญ่ 41 เกาะ เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมีทั้งปะการัง ดอกไม้ทะเลหลากสี และฝูงปลาสวยงามนาๆชนิด ถือเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังอันดับติดอันดับต้นๆของประเทศไทยและในระดับโลก ที่นักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างชาติให้ความสนใจมาเที่ยวชมกันตลอดทั้งปี
นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) นายจตุรเทพ โควินทวงศ์ ผอ.ส่วนจัดการอุทยานแห่งชาติทางทะเล นายสุวรรณเนาว์ แสนสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร นายพรชัย สิทธิเกษตร เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส หัวหน้าสายตรวจคุ้มครองสัตว์ป่าประจำ จ.ชุมพร พร้อมนักประดำน้ำพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทางทะเล ขั้นสูง ( Advance scuba diver ) กว่า 20 คน ออกปฏิบัติการใต้น้ำ สำรวจและศึกษาทรัพยากรทางทะเล ซ่อมแซมทุ่นจอดเรือ จัดเก็บขยะประเภทขวดน้ำ ถุงพลาสติก และเก็บกู้สิ่งอุปสรรคใต้น้ำ เช่นอวนจับปลาชาวประมงที่ลอยมาเกี่ยวติดกับแนวปะการังจนได้รับความเสียหาย ตามแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 41 เกาะ ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่กาะชุมพร โดยเฉพาะเกาะหลักง่าม เกาะมาตรา เกาะกุลา เกาะพร้าว เกาะลังกาจิว เกาะทองหลาง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของคนไทยละชาวต่างชาติ
นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) กล่าวว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้นักประดำน้ำพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทางทะเล ขั้นสูง ( Advance scuba diver ) กว่า 20 คน ปฏิบัตืการทำความสะอาดใต้ท้องทะเลเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ถือเป็นที่นิยมของคนไทยและต่างชาติในอันดับต้นๆของประเทศ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมและดูแลพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ภายหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้มีมาตรการผ่อนคลายโดยเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ซี่งก็มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะวันหยุดร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะมีนักท่องเที่ยวมากกว่าวันปกติธรรมดา
นายบรรณรักษ์กล่าวว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เห็นถึงผลกระทบจากขยะใต้ท้องทะเล ซึ่งพบว่าขยะส่วนใหญ่ลอยตามกระแสน้ำมาจากพื้นที่อื่นเข้ามาติดอยู่กับกองหิน แนวปะการัง ในแหล่งท่องเที่ยวเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร เช่นเครื่องมือประมง อวน ลอบหมึก ขวดน้ำ ถุงพลสสติก โดยเฉพาะอวนจับปลาชนิดต่างๆ ลอยมาติดแนวปะการังทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังแสดงให้เราเห็นว่ายังมีการทิ้งขยะลงในทะเลกันอยู่ แม้ปัจจุบันจะมีไม่มากเหมือนเมื่อก่อนแต่ก็ยังถือว่ายังมีทิ้งกันอยู่ จึงอยากจะเรียกร้องให้ทุกฝ่าย ทั้งชาวประมง ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยว ช่วยกันอนุรักษ์ปกป้องท้องทะเลไทย เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและอาหารชองประเทศอย่างยั่งยืน
“ ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีเจ้าหน้าที่เป็นนักดำน้ำแบบ Scuba ที่มีบัตรนักประดาน้ำเบื้องต้น ( Open water scuba diver ) และนักดำน้ำระดับสูง ( Advance scuba diver ) ที่มีความสามารถในระดับการกู้ภัยทั้งที่ผิวน้ำและใต้น้ำที่ได้มาตรฐานสากล กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆทั้ง 26 แห่ง ในพื้นที่ความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติทางทะเล เพื่อปฏิบัติการภารกิจทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ ในการดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวและรักษาท้องทะเลไทย ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์อนุบาลสัตว์น้ำและแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนตลอดไป ” นายบรรณรักษ์ เสริมทอง ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 (สุราษฎร์ธานี)